วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555



วันที่ 26 ธันวาคม 2555

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคเรียน



วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 19 ธันวาคม

วันนี้อาจารย์ให้นำวงกลมที่ทำจากกระดาษลังมา่ส่ง



และเนื้อ้หาการเรียน คือ
 1. ตัวชี้วัด  คือ  การเป็นสากล เกณฑ์การประเมิน การเป้นที่ยอมรับ
 2. เราสามารถเห็นคำว่าคุณภาพ ได้จากที่ไหนบ้าง  - การสอน  โรงเรียน  สินค้า
 3.กรอบ  คือ กฎเกณฑ์ ข้อจำกัด ขอบเขต
 4.กรอบมาตรฐาน ของ สสวท.
     - การนัีบ คือ เป็นรากฐานของการบวก
     - การวัด คือ การใช้เครื่องมือเพื่อหาค่าปริมาณ
     - เลขาคณิต คือ รูปทรง มิติ ต่างๆๆๆ
     - พีชคณิต คือ ความเข้าใจแบบรูป ความสัมพันธ์
     - การวิเคราัะห์ข้อมูล และความน่าจะเป้น

งานที่ไำด้รับมอบหมาย

อาจารย์ให้หารูปที่วงกลม แล้ววาดลงกระดาศ เอ4 แข็ง  เพื่อประดิษฐ์เป็นสื่อ


วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 12 ธันวาคม 2555
 วันนี้ อ. ได้เขียนขอบข่ายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กมาส่ง ซึ่งดิฉันก็ได้คู่กับ น.ส.จินตนา แก้วแสงสิม มีดังนี้

สื่อที่ดิฉันใช้ คือ ก้อนหินสีส้ม และก้อนหินสีเทา
1.การนับ
  -วางก้อนหินสีส้ม 5 ก้อน ก้อนหินมีเทา 5 ก้อน ไว้คละกัน แล้วหยิบขึ้นมาทีละก้อนให้เด็กๆนับ แล้วครูก็ถามเด็กๆว่ามีทั้งหมดกี่ก้อน
2.ตัวเลข
  -ให้เด็กๆแบ่งกลุ่มกันแล้วส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาเขียนตัวเลขของจำนวนก้อนหินทั้งหมดที่นับได้
3.จับคู่
  -ให้เด็กๆจับคู่ก้อนหินที่มีขนาดเท่ากัน
4.การจัดประเภท
  -ครูวางก้อนหินคละสีกันแล้วให้เด็กๆแยกสีของก้อนหิน
5.การเปรียบเทียบ
  -ครูวางก้อนหินไว้ 2 กอง กองละ 5 ก้อน แล้วปิดตาเด็กไว้ ในขณะที่ปิดตาครูก็เอาก้อนหินกองที่ 1 ออกจำนวน 2 ก้อนแล้วเปิดตาเด็กออก จากนั้นครูก็ถามเด็กว่าระหว่างกองที่ 1และกองที่ 2 กองไหนมากกว่ากัน
6.การจัดลำดับ
  -ครูวางก้อนหินคละขนาดกันแล้วให้นักเรียนจัดก้อนหิน 5 ก้อน แล้วให้เด็กๆเรียงจากก้อนเล็กไปใหญ่
7.รูปทรงและเนื้อที่
  -ครูนำก้อนหินมาวางเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม แล้วถามเด็กๆว่า รูปที่ 1 เป็นรูปทรงอะไร
8.การวัด
  -ครูนำก้อนหินสีส้มจำนวน 5 ก้อนมาวางเรียงกัน และครูนำก้อนหินสีเทาจำนวน 10 ก้อน มาวางเรียงกัน แล้วครุถามเด็กว่าหินสีไหนยาวกว่ากัน
9.เซต
  -ครูถามเด็กว่าิ เด้กๆคิดว่าก้อนหินอยู่ที่ไหนบ้างคะ
10.เศษส่วน
  -ครูนำก้อนหินมาวางไว้จำนวน 6 ก้อน แล้วให้เด็กๆแบ่งเป้น 2 กอง กองละเท่าๆกัน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
  -ครูวางก้อนหินเป็นรูปสามเหลี่ยมและวงกลม แล้วให้เด็กๆนำก้อนหินมาวางเรียงกันให้เหมือนครู
12.การอนุรักษ์
  -ครูเทหินจำนวน 2 แก้วลงในขวดน้ำพลาสติกทั้ง 2 ทรง แล้วถามเด็กว่าขวดน้ำไหนมีจำนวนก้อนหินมากกว่ากัน

จากนั้นอ.ได้ให้ทำกิจกรรม คือ ให้ทุกคนไปหยิบกล่องมาคนละ 1 กล่อง แล้วจับคู่ ให้ช่วยกันคิดว่า สามารถสอนคณิตศาตร์อะไรให้กับเด็กได้บ้าง

     

   

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 5 ธันวาคม 2555

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555
-อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง ขอบข่าย คณิตศาสตร์ของ นิตยา ประพฤติกิจ 2541: 17-19 มีดังต่อไป
1.การนับ เป็นการอยากรู้จำนวน
2.ตัวเลข สัญลักษณ์แทนค่าจำนวน ลำดับ
3.จับคู่ สิ่งที่อยู่ประเภทเดียวกัน
4.การจัดประเภท ฝึกสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ
5.การเปรียบเทียบ อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง
6.การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดๆตามคำสั่ง
7.รูปทรงและเนื้อที่ ให้เด็กเรียนรู้รูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นปกติ
8.การวัด ให้เด็กรู้จักความยาวและระยะ
9.เชต สอนจากสิ่งรอบตัว เชื่อมโยงกับสภาพรวม
10.เศษส่วน สอนโดยเน้นส่วนรวม โดยลงมือปฎิเสธเข้าใจความหมาย ความคิดรวบยอด
11.การทำตามแบบลวดลาย การพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบลวดลายและการจำแนกด้วยสายตา
12.การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ -ส่วนคนที่สองที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างมาให้ดู คือ

-และเยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
- การจับคู่ 1 : 1
- การจับคู่สิ่งของ
- การรวมกลุ่ม
-กลุ่มที่เท่ากัน
- ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555
วันนี้ย้ายมาเรียนห้อง 234 ซึ่งอ.ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วช่วยกันสรุปงานจากการที่ไปหาเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ คือ ความหมายคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอน หลักการสอนและขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์

สมาชิกกลุ่ม
น.ส. ณัฐวดี ขำสม
น.ส. พัชรินทร์ แก้วปู๋ย
น.ส. พัชรี คำพูล

1. ความหมายของคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนามธรรมโดยทั่วไป ซึ่งมีโครงสร้างที่แน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันและมิได้หมายถึงเพียงตัวเลขเท่านั้นแต่ยังมีความหมายที่กว้างขวางดังต่อไปนี้
1) คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีภาษาเฉพาะตัวของมันที่กำหนดขึ้นด้วยสัญลักษณ์ที่รัดกุม เป็นภาษาที่มีตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ แทนความคิด
2) คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างที่มีเหตุผล
อ้างอิงจาก ยุพิน พิพิธกุล.การเรียนการสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:บพิธการพิมพ์.2524


2. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์

มีลำดับขั้นของการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ คือ
1)ขั้นเตรียมความพร้อม เป็นการสำรองความพร้อมของผู้เรียนว่ามีพื้นฐานมากน้อยเพียงใด
2)ขั้นการทำความเข้าใจ เป็นขั้นนำผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่งที่ต้องการสอน
3)ขั้นเปรียบเทียบความแตกต่าง ผู้สอนชี้ให้เห็นความหมาย ความแตกต่างระหว่างแนวคิดไดเพียงใดก็จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
4)ขั้นฝึกทักษะ
5)ขั้นทบทวนความรู้
6)ขั้นนำไปใช้
อ้างอิงจาก สุรชัย ขวัญเมือง.วิธีการสอนและการวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา:
เทพนิมิตรการพิมพ์.2522


3. ขอบข่าย/เนื้อหาคณิตศาสตร์


การจัดโครงการเนื้อหาของคณิตศาสตร์แต่ละเนื้อหาจะจัดให้สัมพันธ์กับเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ละเนื้อหาเป็นเรื่องที่จะต้องใช้หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ในการจัดเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นต้งจัดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย
อ้างอิงจาก เรวัตร พรหมเพ็ญ.พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับประถมศึกษา.
ภาคหลักสูตรการสอน.คณะวิชาครุศาสตร์สถาบันราชภัฎจันทรเกษม:2537


4. แนวการสอน


1) สอนโดยการให้อธิบายและเหตุผล
2) สอนแบบสาธิต
3) สอนโดยการถาม-ตอบ
อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ 2
(คณิตศาสตร์): 2537

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



วันที่ 14 พฤศจิกายน 2555

อ.ได้แจกกระดาษ A4 แล้วให้แบ่งกัน 4 คน โดยให้วาดภาพที่เป็นสัญลักษณ์แทนชื่อของตัวเองไว้ด้านบน และเขียนชื่อจริง นามสกุลไว้ใต้ภาพ แล้วให้คนที่มาก่อนเวลา 08.30 น.เอาไปติดไว้บนกระดาน ที่อาจารย์ได้ขีดเส้นไว้ให้แล้ว

-มีการเชื่อมโยงจากภาพ รูปทรง จำนวน จัดหมวดหมู่ ขนาด

-การนับ คนที่มาก่อนเวลา 08.30 น. มีจำนวน 19 คน
การนับเพิ่ม
การนับลด

*และอ.ได้ให้งาน โดยไปหาหนังสือคณิตศาสตร์
-จดชื่อหนังสือ
-ผู้แต่ง
-ปีที่พิมพ์
-เลขรหัสหนังสือ
จำนวน 5 เล่ม และใน 5 เล่มนั้น
เลือกหยิบมา 1 เล่ม
จดเอาเฉพาะเลขที่หน้า,บรรณานุกรม,ปีที่พิมพ์,สำนักพิมพ์
ตามหัวข้อดังนี้
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
3.ขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์
4.หลักการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2555
-อ.จ๋าได้ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ เช่นในเรื่อง การแต่งกาย การเข้าเรียน และการเข้ากิจกรรมต่างๆ
-อ.จ๋าได้บอกถึงวิธีการเรียน การประเมิน
-อ.จ๋าให้เขียนว่า ในความคิดของเราคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คืออะไร ให้บอกมาคนละ 1 ประโยค
-อ.จ๋าได้อธิบายคำว่า สอน คือครูเป็นขั้นเป็นตอนให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กบรรลุตามวัตถุประสงค์
และในการจัดประสบการณ์ จะไม่คาดหวังว่าทุกคนจะเดินไปพร้อมกันโดยวิธีเดียวกัน เพราะจะขึ้นอยู่กับตัวเด็ก เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
-อ.จ๋าให้เขียนความคาดหวังของรายวิชานี้
-อ.ได้บอกว่า 6 กิจกรรมหลักมีอะไรบ้าง
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมเสรี
3.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
4.กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
5.เกมการศึกษา
6.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์